holy-bible-reading

ทำความรู้จักกับหนังสือศักสิทธิ์ของศาสนาคริสต์ อย่าง คัมภีร์ไบเบิ้ล

แต่ละศาสนาจะมีคำสอนเป็นของตัวเอง และทุกคำสอนย่อมจะนำทางทุกคนให้เป็นเคนดี นอกจากศาสนาจะมีคำสอนแตกต่างกัน ภายในศาสนาเดียวกันเองก็จะตีความคำสอนในศาสนาแตกต่างกันด้วย อย่างศาสนาคริสต์เอง คัมภีร์ของพวกเค้าเรียกว่า คัมภีร์ไบเบิ้ล นั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร กล่าวถึงเรื่องอะไรบ้าง เรามาทำความรู้จักกัน

คัมภีร์ไบเบิ้ลคืออะไร

คัมภีร์ไบเบิ้ล อีกชื่อหนึ่งว่า พระคริสตธรรมคัมภีร์ ด้านในเป็นเรื่องราวของพระยาเวห์ มนุษย์ บาป การขึ้นสวรรค์ รวมถึงวิธีรอดพ้นจากบาปเหล่านั้น จนถึงชีวิตอันเป็นนิรันดร์ อีกส่วนหนึ่งคัมภีร์นี้จะพูดถึงหลักคำสอนของศาสนาคริสต์ ประวัติของพระเยซู เรื่องราวของท่าน และอีกมากมาย คัมภีร์ไบเบิ้ลเป็นหนังสือชุดจำนวนหลายเล่มแบ่งออกเป็นสองส่วนด้วยกัน

การยอมรับแตกต่างกัน

เราต้องเข้าใจก่อนว่า คัมภีร์ไบเบิ้ล ตามความหมายของนิกายคริสต์ก็แตกต่างกันไป บางนิกายก็บอกว่ามี 66 เล่ม บ้างก็ 73 เล่ม บ้างก็ 78 เล่ม ที่ไม่เท่ากันนั้น เพราะว่าแต่ละนิกายจะยอมรับพระคัมภีร์ไม่เหมือนกัน บางนิกายอาจจะไม่ยอมรับในบางเล่มเพราะว่าไม่ได้เป็นเรื่องเกี่ยวกับพระเยซู ก็มี ดังนั้นอย่าแปลกใจที่แต่ละนิกายคริสต์จะมีความเชื่อปลีกย่อยไม่เหมือนกันบางประเด็น

ภาคพันธสัญญาเดิม

ส่วนแรกของคัมภีร์ไบเบิ้ล ชื่อว่า ภาคพันธสัญญาเดิม หนังสือชุดนี้จะมีทั้งหมด 39 เล่ม เรื่องราวบอกเล่าถึงโลกก่อนการเกิดของพระเยซูคริสต์ เนื้อหาจะถอดมาจากคัมภีร์ฮีบรู แบ่งออกเป็น 4 หัวข้อด้านในคือ หนึ่งหมวดเบญจวรรณ สองหมวดประวัติศาสตร์ สามหมวดปรีชาญาณ และสี่หมวดผู้เผยพระวจนะ

ภาคพันธสัญญาใหม่

ส่วนหลังจะเป็นหนังสือคัมภีร์ไบเบิ้ลที่ชื่อว่า ภาคพันธสัญญาใหม่ เรื่องราวภายในหนังสือจะเขียนขึ้นหลังจากพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สรวงสวรรค์ไปแล้ว เนื้อหาแบ่งออกเป็น 27 เล่ม ในหัวข้อ 5 เรื่องต่อไปนี้ หมวดพระวรสาร หมวดประวัติศาสตร์ หมวดจดหมายของเปาโล หมวดจดหมายทั่วไป และ หมวดวิวรณ์

คัมภีร์นอกระบบ

ข้างต้นได้บอกไปแล้วว่า แม้จะเป็นคริสต์เหมือนกันแต่ความเชื่อปลีกย่อยของแต่ละนิกายไม่เหมือนกัน นี่ก็เป็นอีกหนึ่งความแตกต่าง เพราะแต่ละนิกายจะนับถือคัมภีร์ต่างกัน เรียกคัมภีร์กลุ่มนี้ว่า คัมภีร์นอกระบบ ยกตัวอย่างเช่น นิกายโรมันคาทอลิก และ ออร์ทอดอกซ์ จะนับถือคัมภีร์อีก 7 เล่มคือ หนังสือโทบิต หนังสือยูดิธ หนังสือมัคคาบีฉบับที่ 1 หนังสือมัคคาบี ฉบับที่ 2 หนังสือปรีชาญาณ หนังสือบุตรสิรา และหนังสือบารุค แต่นิกายโปรแตสแตนด์ไม่สนใจคัมภีร์เหล่านี้เป็นต้น

จะเห็นว่า ศาสนาคริสต์เองก็มีการศึกษาเรื่องราวประวัติของพระเยซู ประวัติของอัครทูต หลักธรรมคำสอน โลกหลังความตาย ฯลฯ แม้ว่าเราจะไม่ใช่คนนับถือศาสนาคริสต์ก็สามารถเข้าไปอ่าน หรือ ศึกษาก่อนได้เพื่อทำความเข้าใจก่อนจะเชื่อในหลักศาสนาดังกล่าว